จังหวัดสุพรรณบุรี
สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดสุพรรณบุรีโรงแรม ที่พัก รีสอร์ท จังหวัดสุพรรณบุรีร้านอาหารในจังหวัดสุพรรณบุรีรวมแผนที่จังหวัดสุพรรณบุรีการเดินทางสู่จังหวัดสุพรรณบุรีเรื่องอื่นๆที่น่าสนใจในจังหวัดสุพรรณบุรีรวมภาพถ่ายจังหวัดสุพรรณบุรี


 

 

 

 

 

 
อุทยานพุทธบัญชา (พระยูไล)
ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง อุทยานมังกรสวรรค์ สุพรรณบุรี  
   เชื่อกันว่าพระยูไลเป็นปางหนึ่งขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า มีความศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เคารพสักการะของชาวไทยเชื้อสายจีน ภายในอุทยานมีเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยม ประดิษฐานองค์พระยูไล ปางประทับนั่งบนปัทมาสน์ มือถือเจดีย์บุ๋งเซียง บนอุระมีสัญลักษณ์ สวัสดิกะ อันเป็นสัญลักษณ์แห่งความสุขสวัสดีและที่หัวใจบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ โดยรอบองค์พระยูไลรายล้อมด้วยพระอรหันต์ จำนวน 18 องค์


อุทยานพุทธบัญชา (พระยูไล) ตั้งอยู่บริเวณเดียวกับ ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง อุทยานมังกรสวรรค์ อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ภายในอุทยานมีเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยมแบบจีน 5 ชั้น สูง 28 เมตร กว้าง 17 เมตร ประดิษฐานองค์พระยูไล มีขนาดความสูง 3 เมตร หน้าตักกว้าง 89.99 นิ้ว หล่อด้วยทองเหลือง ปางประทับนั่งบนปัทมาสน์ มือถือเจดีย์ บุ๋งเซียง พระพักตร์ เปี่ยมด้วยพระเมตตา บนอุระมีสัญลักษณ์ สวัสดิกะ หรือ ว่าน อันเป็นสัญลักษณ์แห่งความสุขสวัสดีและที่หัวใจบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ โดยรอบองค์พระยูไลรายล้อมด้วยพระอรหันต์ จำนวน 18 องค์ หล่อด้วยทองเหลือง ด้านนอกเจดีย์ประกอบไปด้วยท้าวเวสสุวรรณ (เงิน-ทอง) สององค์ตั้งอยู่ตรงบริเวณหน้าประตูทางเข้า (ทำด้วยหินหยกขาว จากประเทศเวียดนาม) รอบองค์เจดีย์มีท้าวจตุโลกบาลสี่ทิศ คอยปกปักรักษา ประดิษฐานอยู่ภายในเก๋งจีนสี่หลัง และจัดสวนที่สวยงาม มีต้นไม้ใหญ่อันร่มรื่น เพื่อให้ผู้ที่เข้ามากราบไหว้มีความสุข สงบร่มเย็น

วางศิลาฤกษ์และเริ่มทำการก่อสร้าง เจดีย์พุทธบัญชา (พระยูไล) เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2557 ประดิษฐานองค์พระยูไล เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2557 เวลา 11.50 น. พิธีเบิกเนตรองค์พระยูไล วันที่ 18 สิงหาคม 2557 โดยพระมหาคณาจารย์จีนธรรมสมาธิวัตรเจ้าคณะใหญ่จีนนิกาย พิธีพุทธาภิเษกใหญ่ วันที่ 18 สิงหาคม 2558 มีพระเทพสุวรรณโมลี
เจ้าอาวาสวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร เป็นประธานคณะสงฆ์
และทำพิธีเปิด เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2559

มูลนิธิพุทธบัญชา (พระยูไล)
Buddha Bancha Foundation 2/25 ถนนไร่ฝ้าย ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี 72000 โทร. 0 3545 0119

ตามความเชื่อในพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานนิกาย เชื่อว่ามีพระพุทธเจ้ามากมายหลายพระองค์ คำว่า"ยูไล 如来" หรือ "ยีไล" จะใช้ต่อท้ายพระนามของพระพุทธเจ้าโดยทั่วๆไปไม่ได้หมายความเจาะจงว่า พระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง

พระอรหันต์ จำนวน 18 องค์ หล่อด้วยทองเหลือง

พระยูไลทั้งสามองค์ที่โปรดสัตว์หลังกึ่งกลางยุคพุทธกาล
กึ่งกลางพุทธกาล เบื้องบนจะส่งพระยูไลลงมาชุดละสามองค์ คือ พระยูไลที่ถือดอกบัว, พระยูไลที่ถือดวงแก้วมณี และพระยูไลที่ถือเจดีย์บุ่นเซียง ทั้งสามองค์จะประสานงานกัน เพื่อโปรดสัตว์บนโลกมนุษย์

พระยูไลถือดอกบัว
คือ พระยูไล ผู้โปรดสัตว์ด้วยการสอนธรรม การบำเพ็ญด้วยการออกโปรดสัตว์ สอนธรรม เช่น ธุดงค์ไปยังที่ต่างๆ พบปะผู้คนแล้วถ่ายทอดธรรม หรือตั้งสถานธรรมเพื่อสอนธรรม

พระยูไลถือดวงแก้ว
คือ พระยูไล ผู้โปรดสัตว์ด้วยการปกป้องประเทศ กำหนดเขตอาคม คุ้มกันประเทศไว้ ไม่ให้ถูกศัตรูรุกรานหรือทำลายได้ พร้อมกับชักชวนผู้คนให้เร่งปฏิบัติธรรม

พระยูไลถือเจดีย์บุ่นเซียง
คือ พระยูไล ที่มักนิยมธุดงค์จร เพื่อโปรดจิตวิญญาณที่ตกค้างอยู่ตามสถานที่ต่างๆ  ด้วยการดึงจิตวิญญาณ เข้ามากักไว้ในเจดีย์บุ่นเซียงก่อน แล้วกักตนฝึกวิชาโปรดสัตว์ร้ายนั้นให้หลุดพ้นในที่สุด
เจดีย์บุ่นเซียง คือ เจดีย์ที่ย่อและขยายขนาดได้ กำหนดด้วยใจ (มโนมยิทธิ) ให้เล็กอยู่ในฝ่ามือ หรืออธิษฐานให้ใหญ่เทียบเท่าเจดีย์ของจริงก็ได้ เจดีย์บุ่นเซียง มีหลายชั้น แต่ละชั้นมีค่ายกลและวิธีการจัดการต่างกัน แต่ทั้งหมดไว้ทำหน้าที่ “กักขังสัตว์ร้าย” ให้อยู่ในเจดีย์นั้น พร้อมรับการโปรดสอนธรรมจากพระยูไล จนกว่าจะหลุดพ้นและหายดุร้ายได้

ท้าวเวสสุวรรณ (เงิน-ทอง) สององค์ตั้งอยู่ตรงบริเวณหน้าประตูทางเข้า

ตำนานเรื่องเล่าขานเกี่ยวกับพระยูไล
มักมีประติมากรรมเป็นรูปฝ่าพระหัตถ์ของพระยูไล เรียกกันว่าฝ่ามือยูไล หรือ ยูไลเสินจ่าง(如来神掌) ความหมายของคำ ๆ นี้มาจากตำนานเรื่อง “ไซอิ๋ว”(西游记) ที่เล่าถึงเห้งเจีย(ซุนหงอคง) ผู้เก่งกาจสามารถ ซึ่งแม้แต่กองทัพสวรรค์นับหมื่นก็ไม่อาจเอาชนะได้ แต่เพราะความทระนงของซุนหงอคงที่อาจหาญมาพนันขันต่อกับพระยูไล โดยประกาศว่าสามารถเหาะเหินได้ไกลหลายพันลี้ และสามารถกระโดดข้ามพ้นฝ่าพระหัตถ์ขององค์พระยูไลได้อย่างง่ายดาย
แต่ท้ายที่สุดแล้ว ไม่ว่าซุนหงอคงจะกระโดดไกลเพียงใด เหาะเหินไปมากเพียงไหน ก็ยังไม่อาจก้าวข้ามพ้นภูเขา 5 ยอดสูงที่อยู่เบื้องหน้าได้ ซึ่งภูเขาห้ายอดนั้น แท้ที่จริงแล้ว ก็คือฝ่าพระหัตถ์ขององค์พระยูไล นั้นเอง ผลจากการพ่ายแพ้นี้ ทำให้ซุนหงอคงต้องถูกทับอยู่เบื้องใต้ภูเขา 5 ยอดนั้น ซึ่งเรียกกันว่า ภูเขาอู่จื่อซาน (五指山) นานถึง 5 ร้อยปี
จากเหตุการณ์ในตำนานเรื่องนี้ จึงเป็นที่มาของคำว่า “หรูไหลเสินจ่าง” (ฝ่ามือยูไล) และยังเป็นเสมือนรูปเคารพ ที่เป็นคติเตือนใจไม่ให้ผู้หนึ่งผู้ใดมีความทระนงหรือหยิ่งยะโสในตนเองจนเกินไป ...

Tian Tan Buddha Statue พระยูไลแห่งเกาะลันตา เป็นพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ สูง 34 เมตร หนักประมาณ 250 ตัน ฐานองค์พระ มีรูปปั้นเทพธิดากำลังถวายเครื่องสักการะแด่พระพุทธ บนสวรรค์ ตามความเชื่อของนิกายมหายาน (เทียนถานแปลว่าแท่นบูชาบนสวรรค์) จึงเป็นที่มาของนาม พระพุทธรูปองค์นี้สร้างขึ้นเมื่อปี 2533 จากการริเริ่มของเจ้าอาวาสวัดโปหลิน ใช้เวลา 42 เดือน (แล้วเสร็จ 29 ธันวาคม 2536)


หินยาน (เถรวาท)- มหายาน - วัชรยาน

หลังพุทธกาลราว 500-600 ปี มีการกำหนดชื่อของกลุ่มที่มีความคิดเห็นและความเชื่อที่แตกต่างในพระพุทธศาสนา หินยาน(หีนยาน) กับมหายาน ในความเป็นหินยานและมหายานก็มีความคิดเห็นแตกต่างกันอีก จึงเกิดนิกายย่อยขึ้นอีกมากมาย
หินยาน มีนิกาย สรวาสติวาท มหานิกาย ธรรมยุติกนิกาย และเถรวาท ปัจจุบันเหลือเพียงเถรวาท ผู้นับถือส่วนใหญ่อยู่ในแถบตอนใต้ของทวีปเอเชีย (ไทย พม่า ลังกา เป็นต้น)
มหายาน มีนิกายย่อยมากมาย ผู้นับถือส่วนใหญ่อยู่ในแถบตอนเหนือของทวีปเอเชีย (จีน เกาหลี ญี่ปุ่น เป็นต้น) บางนิกายมีผู้นับถือมากอย่าง นิกายเซน นิกายเจิ้นเหยียน หรือมนตรยาน หรือวัชรยาน
วัชรยาน เกิดขึ้นเมื่อราว 1000-1200 ปีหลังพุทธกาล ก็ไม่ยอมรับว่าตนเป็นมหายานแต่เป็นนิกายใหญ่อีกนิกายหนึ่ง ผู้นับถือส่วนใหญ่อยู่ใน ทิเบต และมองโกล
ถึงแม้จะมีความแตกต่างกันในทางปฎิบัติธรรม แต่ต่างก็มีแก่นธรรมเดียวกัน คือ การทำความดี และละเว้นการทำความชั่ว


สถานที่สำคัญภายใน อุทยานมังกรสวรรค์

หมู่บ้านมังกรสวรรค์

   ภายในหมู่บ้านที่ออกแบบได้สวยงามลงตัว เหมือนหนึ่งได้เดินเข้าไปในหมู่บ้านโบราณของเมืองจีน ซึ่งแต่ละหลังก็เป็นสถานที่ที่ให้บริการต่างกันออกไป มีร้านขายสินค้า และของที่ระลึก (ร้านสำเพ็ง) โรงหนัง โรงนวด โรงเตี๊ยม ร้านอาหาร ปฎิมากรรมที่งดงาม

อุทยานมังกรสวรรค์ ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง

พิพิธภัณฑ์ลูกหลานพันธุ์มังกร

พิพิธภัณฑ์ลูกหลานพันธุ์มังกร


 

สอบถามข้อมูล โทร. 035-52 6211 - 2

แผนที่ การเดินทาง ศูนย์เรียนรู้วิถีชีวิตและจิตวิญญาณชาวนาไทย  นาเฮียใช้

ค่าพิกัด GPS 14.478883, 100.110426

 

เปิดให้เข้าชมฟรีทุกวัน


สถานที่ท่องเที่ยว
อำเภอเมือง


อำเภอเมือง
วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร
หอคอยบรรหาร-แจ่มใส
อุทยานมังกรสวรรค์
พิพิธภัณฑ์ฯ สุพรรณบุรี
วัดแค
คุ้มขุนแผน
อุทยานมัจฉา วัดพระนอน
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
หอเกียรติยศ ฯพณฯ บรรหาร
โรงละครแห่งชาติ
วัดหน่อพุทธางกูร
วัดพระรูป
บ้านยะมะรัชโช
พิพิธภัณฑ์ ชาวนาไทย
กำแพงเมืองเก่าและประตูเมือง
สระศักดิ์สิทธิ์
วัดสนามช
วัดสุวรรณภูมิ
ตลาดริมน้ำยามเย็นโพธิ์พระยา
ศาลสมเด็จพระนเรศวร
วัดพร้าว
วัดวรจันทร์
มูลนิธิข้าวขวัญ
วัดสำปะซิว
ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี
วิทยาลัยนาฏศิลปสุพรรณบุรี
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8
วัดโพธิ์เจริญ
วัดปู่บัว
ศาลตายาย
มนัสพาณิชย์
ทุ่งปอเทือง
สวนขวด สุพรรณบุรี
ศูนย์เรียนรู้วิถีชีวิตฯ ชาวนาไทย
เทวาลัยเคณศอินทร์ศวร
อุทยานพุทธบัญชา (พระยูไล)

แผนที่ตัวเมืองสุพรรณ


Last modified: 26/08/19
Copy  Right © 2545

จังหวัดสุพรรณบุรี | สถานที่ท่องเที่ยว | ที่พัก-รีสอร์ท | ร้านอาหาร แผนที่ | การเดินทาง | Other | Suphan Gallery