
วัดพระรูป
อำเภอเมือง
วัดที่มีชื่อเสียงของเมืองสุพรรณมาช้านาน
ถ้าพูดถึงวัดพระรูป คนส่วนใหญ่จะนึกถึง
รอยพระพุทธบาทไม้
เป็นงานพุทธศิลป์ที่ทรงคุณค่า
ความวิจิตรบรรจงในงานแกะสลักบนไม้ที่สวยงาม
และมีอายุเก่าแก่และมีเพียงชิ้นเดียวในประเทศไทย
คงเป็นบุญตาสักครั้งหนึ่ง ที่จะได้ชมผลงานที่มีความงาม
และคุณค่ามากมายแบบนี้



วัดพระรูป ตั้งอยู่ที่ถนนขุนช้าง
ริมฝั่งทิศตะวันตกของแม่น้ำท่าจีน
ตรงข้ามตลาดสุพรรณบุรี
วัดนี้เป็นวัดเก่าแก่สันนิษฐานว่าสร้างในราวพุทธศรรษที่
19
ภายในวัดมีสิ่งที่น่าสนใจ ได้แก่ พระพุทธรูปปางไสยาสน์
ก่ออิฐถือปูน ยาว 13 เมตร สูง 3 เมตร ชาวบ้านเรียกว่า
เณรแก้ว พระพักตร์กลมยาวคล้ายผลมะตูม
ผินพระพักตร์สู่ทิศตะวันออก เป็นพระนอนที่มีพระพักตร์งามมากของประเทศไทย
พระพุทธบาทไม้
เป็นโบราณวัตถุที่หาค่าไม่ได้ ศิลปะการแกะสลักงดงามมาก
มีขนาดยาว 222 เซนติเมตร กว้าง 74 เซนติเมตร หนา 10
เซนติเมตร ทำจากไม้ประดู่หรือไม้มะหาดแกะสลักทั้ง 2
ด้าน ด้านหน้าทำเป็นลวดลายมงคล 108
ในกรอบทรงกลมกลางฝ่าพระบาท และท้าวจตุโลกบาล
ด้านหลังสลักเป็นรูปตอนมารผจญ
มีเพียงชิ้นเดียวในประเทศไทย
เดิมพระพุทธบาทไม้อยู่ที่วัดเขาดิน เมื่อตอนเกิดศึกไทย
พม่า พระภิกษุรูปหนึ่งเกรงจะถูกทำลาย
จึงนำล่องมาทางน้ำแล้วเอาขึ้นที่วัดพระรูป



ประวัติความเป็นมาอีกทางหนึ่ง จากจารึกเมื่อ พ.ศ. 2459
ของพระแจงวินัยธร อดีตเจ้าอาวาสวัดพระรูปบันทึกว่า
"ได้รับข่าวกันต่อๆมาว่า
ฝ่าพระพุธบาทนี้ลอยน้ำมาแต่เหนือกับพระพุทธรูปหนึ่งองค์นี้ก่อนกรุงเก่า"
Link ที่น่าสนใจ
คลายปริศนาแผ่นไม้สลักวัดพระรูป จังหวัดสุพรรณบุรี
เคยเป็นแผ่นฝาลูกฟักประกอบบนจั่วหน้าบันของพระอุโบสถ
.... EJeab Academies



นอกจากนี้ยังมีเจดีย์อู่ทองและซากเจดีย์สมัยทวาราวดี
ระฆังสัมฤทธิ์ และธรรมาสน์สังเค็ด
(วัตถุที่ถวายแก่สงฆ์ผู้เทศน์หรือผู้ชักบังสุกุลเมื่อเวลาปลงศพ)
ฝีมือช่างอยุธยาตอนปลาย และที่นี่ยังเป็นกรุของ
พระขุนแผน อันมีชื่อเสียง

คลิ๊กชมภาพทั้งหมดได้ที่นี้
ประวัติความเป็นมา
วัดพระรูปนี้
สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างขึ้นมาแล้วตั้งแต่ก่อนสมัยอยุธยาเป็นราชธานี
ดังปรากฏเจดีย์เก่าแก่ทรงแปดเหลี่ยมยอดระฆังกลม
ซึ่งเป็นเจดีย์ที่มีรูปแบบศิลปกรรมเฉพาะที่นิยมในศิลปแบบสุพรรณภูมิหรืออู่ทอง
กำหนดอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 19
เจดีย์วัดพระรูปนี้กรมศิลปากรเคยทำการขุดแต่งและบูรณะเมื่อ
พ.ศ. 2534
ได้พบซากฐานเดิมขององค์เจดีย์ที่สันนิษฐานว่ามีมาก่อนพุทธศตวรรษที่
19
ส่วนเจดีย์ที่เห็นในปัจจุบันนั้นน่าจะสร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่
19 บนฐานเจดีย์เดิม แล้วมีการบูรณะซ่อมแซม
โดยการฉาบปูนทับและปั้นลายปูนปั้นใหม่เมื่อราวครึ่งแรกของพุทธศตวรรษที่
20
นอกจากนี้ภายในวัดยังเก็บรักษา พระพุทธบาทไม้
ศิลปกรรมแบบอู่ทอง ที่งดงามมากไว้ด้วย
พระพุทธบาทนี้มีขนาดกว้างประมาณ 60 เซนติเมตร
ยาวประมาณ 1 เมตร 80 เซนติเมตร
สันนิษฐานได้ว่าถูกนำมาจากที่อื่น
ด้านหน้าทำเป็นลวดลายมงคล 108
ในกรอบทรงกลมกลางฝ่าพระบาท และท้าวจตุโลกบาล
ด้านหลังสลักเป็นรูปตอนมารผจญ
อีกทั้งยังมีซากเจดีย์ที่ยังไม่ได้รับการขุดแต่งและบูรณะในบริเวณวัดอีกหลายองค์
ซากศาลาแบบเก๋งจีน
และวิหารประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์องค์ใหญ่
ศิลปกรรมแบบอู่ทอง
ซึ่งแต่เดิมเป็นวิหารขนาดเล็กพอดีกับองค์พระ
แต่ปัจจุบันมีการซ่อมขยายวิหารให้มีขนาดใหญ่ขึ้น
การขึ้นทะเบียน
กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนวัดพระรูปในราชกิจจานุเบกษา
เล่ม 52 ตอนที่ 75 วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2478
ที่มาข้อมูล:
สำนักศิลปากรที่2 สุพรรณบุรี
สอบถามข้อมูล
ตำบล รั้วใหญ่ อำเภอเมืองสุพรรณบุรี สุพรรณบุรี 72000
โทร. 064 215 8913
ค่าพิกัด
GPS
14.469927,
100.113085
|