จังหวัดสุพรรณบุรี
สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดสุพรรณบุรีโรงแรม ที่พัก รีสอร์ท จังหวัดสุพรรณบุรีร้านอาหารในจังหวัดสุพรรณบุรีรวมแผนที่จังหวัดสุพรรณบุรีการเดินทางสู่จังหวัดสุพรรณบุรีเรื่องอื่นๆที่น่าสนใจในจังหวัดสุพรรณบุรีรวมภาพถ่ายจังหวัดสุพรรณบุรี


 

 

 

 

 
อำเภอหนองหญ้าไซ
  
เป็นอำเภอที่อยู่เหนือขึ้นไปจาก อำเภอดอนเจดีย์ อาจจะไม่เป็นที่คุ้นหูคุ้นตาของนักเดินทางท่องเที่ยวมากนัก เป็นอำเภอที่ค่อนข้างสงบเงียบ ชาวบ้านส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม ทำนาทำสวนทำไร่ เลี้ยงสัตว์ และทอผ้า
ภาพชีวิตของที่นี่จึงเป็นภาพชีวิตของชนบทเมืองสุพรรณ ที่ไม่แตกต่างกับภาพเมื่อหลายสิบปีก่อน
   และที่อำเภอหนองหญ้าไซแห่งนี้ ยังเป็นสถานที่ที่มีเรื่องราว ของวัฒนธรรมสมัยโบราณ ที่มีอายุหลายพันปี ให้ชนรุ่นหลังได้ศึกษา ค้นหาประวัติศาสตร์ ที่ถูกฝังอยู่ใต้พื้นดินมานานนับหลายชั่วอายุคน

  
.... แหล่งโบราณคดีหนองราชวัตร .....

แหล่งโบราณคดีหนองราชวัตร

ภาชนะดินเผา (หม้อมีนม) สมัยก่อนประวัติศาสตร์
อายุราว ๓,๘๐๐ – ๔,๐๐๐ ปีมาแล้ว
ดินเผา เส้นผ่าศูนย์กลางลำตัว ๔๙ ซม. สูง ๖๑.๕ ซม.
ได้จากแหล่งโบราณคดีหนองราชวัตร อำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี สำนักศิลปากรที่ ๒ จังหวัดสุพรรณบุรี

ภาชนะดินเผาเนื้อดิน ไหล่ประกอบด้วยกระเปาะรูปกรวยคล้ายหน้าอกผู้หญิง ๒ คู่ ปากและฐานเป็นเชิงสูงถูกทุบแตกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย ปูรองรับศพเพศชายที่เสียชีวิตในวัยสูงอายุ (ราว ๔๕ - ๕๕ ปี ) ได้รับการตีความหมายว่ารูปทรงพิเศษของภาชนะสื่อถึงสตรีมีครรภ์ ๒ คนหันหลังชนกัน บนไหล่ภาชนะทำลายเส้นเกี่ยวกระหวัดสัมพันธ์ต่อเนื่อง ซึ่งอาจสื่อถึงการหมุนเวียนเป็นวัฏจักร การนำภาชนะรูปทรงนี้มารองรับศพผู้ตาย น่าจะหมายถึงการให้ผู้ตายได้กลับสู่ครรภ์มารดาเพื่อถือกำเนิดใหม่อีกครั้งอีกครั้งหนึ่ง

ที่มาของข้อมูล: กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร

ชุมชนร่วมรัฐในการอนุรักษ์และพัฒนา
แหล่งโบราณคดีหนองราชวัตร
จังหวัดสุพรรณบุรี

  แหล่งโบราณคดีหนองราชวัตร อยู่ในพื้นที่หมู่ 5 ตำบลหนองราชวัตร อำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี ถูกค้นพบโดย นายวิมล  อุบล เจ้าของที่ดิน จากการขุดปรับหน้าดินเพื่อทำการเกษตรกรรม เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2546 และได้แจ้งให้องค์การบริหารส่วนตำบลหนองราชวัตรทราบ  จากนั้นองค์การบริหารส่วนตำบลหนองราชวัตรได้แจ้งให้สำนักงานศิลปากรที่ 2  สุพรรณบุรีทราบ เพื่อตรวจสอบและดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง

  จากการดำเนินการตรวจสอบแหล่งโบราณคดีดังกล่าวในเบื้องต้น โดยนายเขมชาติ เทพไชย  ผู้อำนวยสำนักงานศิลปากรที่ 2 สุพรรณบุรี  (ขณะนั้น) และนางสาวสุภมาศ ดวงสกุล นักโบราณคดี ได้พบหลักฐานทางโบราณคดีจำนวนมาก ได้แก่ ชิ้นส่วนโครงกระดูกมนุษย์โบราณ ชิ้นส่วนกระดูกสัตว์ขวานหินขัด ชิ้นส่วนภาชนะดินเผารูปทรงต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้พบชิ้นส่วนขาภาชนะดินเผาที่มีรูปแบบเฉพาะที่เรียกว่า “หม้อสามขา” อย่างที่เคยพบในแหล่งโบราณคดีบ้านเก่า จังหวัดกาญจนบุรี  และแหล่งโบราณคดีแจงงาม อำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี

   ผลจากการขุดค้นแสดงให้เห็นว่ามีกลุ่มคนเข้ามาอยู่อาศัยใช้ประโยชน์ที่เนินดินนี้ 2 สมัยใหญ่ๆ ที่มีความแตกต่างกันในเรื่องทิศทางฝังศพ เมื่อพิจารณาโบราณวัตถุต่างๆ ที่พบในชั้นดินของแต่ละสมัย ทำให้สามารถกำหนดอายุสมัยแหล่งโบราณคดีแห่งนี้ในเบื้องต้นได้ดังนี้ สมัยแรก พบโบราณวัตถุที่ฝังร่วมกับศพและในพื้นที่อยู่อาศัยหลายชนิด เช่น ขวานหินกะเทาะ ขวานหินขัด กำไลหิน และภาชนะดินเผา โดยเฉพาะการพบขาหม้อสามขาทำให้สามารถกำหนดอายุโดยเทียบเคียงได้กับที่แหล่งโบราณคดีบ้านเก่า จ.กาญจนบุรี ที่เคยมีการกำหนดอายุไว้แล้วว่าอยู่ใน สมัยหินใหม่ อายุราว 4,000 - 3,500 ปีมาแล้ว โดยชุมชนที่เข้ามาอยู่อาศัยที่นี่นั้นเริ่มทำการเพาะปลูกมาตั้งแต่แรกเนื่องจากได้พบแกลบข้าวปะปนในเศษภาชนะดินเผาของสมัยนี้ด้วย สมัยที่สอง โบราณวัตถุจำพวกข้าวของเครื่องใช้ส่วนใหญ่ยังคงคล้ายคลึงกับสมัยแรก แต่มีข้อสังเกตคือ สมัยที่สองจะนิยมใช้ขวานหินขัดมากกว่าหินกะเทาะ และเริ่มพบขวานหินขัดแบบมีบ่าด้วย รูปแบบหม้อสามขาก็หลากหลายมากขึ้น อีกทั้งยังไม่พบโลหะในที่นี้เลย จึงกำหนดอายุสมัยที่สองนี้อยู่ในสมัยหินใหม่ตอนปลาย ราว 3,500-2,500 ปีมาแล้ว รูปแบบหม้อสามขาในสมัยแรกของที่นี่นั้นมีลักษณะพิเศษแตกต่างไปจากที่บ้านเก่า และแหล่งอื่นๆ ในไทย โดยมีขาอ้วนป้อมคล้ายคลึงกับที่พบในวัฒนธรรมลุงชานของจีนที่เป็นต้นแบบภาชนะประเภทนี้มากกว่า อีกทั้งในสมัยที่สองยังได้พบว่ามีการพัฒนารูปแบบภาชนะหม้อสามขาให้หลากหลายมากขึ้น โดยที่หม้อรูปแบบเดียวกับที่บ้านเก่าซึ่งเป็นพิมพ์นิยมในไทยนั้นก็ได้พบในสมัยที่สองนี้ด้วย จึงนำไปสู่ข้อสันนิษฐานว่า แหล่งโบราณคดีหนองราชวัตรอาจจะเป็นชุมชนเกษตรกรรมยุคหินใหม่ระยะแรกๆ ในลุ่มน้ำท่าจีน-แม่กลอง ที่มีกลุ่มชนภายนอกจากทางตอนใต้ของจีนเคลื่อนย้ายลงมาผสมผสานแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมโดยมี “หม้อสามขา” เป็นภาชนะแบบพิเศษของคนกลุ่มนี้ จนผสมกลมกลืนกับคนในท้องถิ่นเดิมพัฒนารูปแบบภาชนะให้ส่วนขาเรียวแหลมเหมาะแก่การใช้งานมากขึ้น เราจึงได้พบรูปแบบหม้อสามขาแบบหลังนี้แพร่หลายทั่วไปในแหล่งโบราณคดีในที่ราบลุ่มแม่น้ำแควน้อย-แควใหญ่ และอีกหลายแหล่งในคาบสมุทรภาคใต้
แหล่งโบราณคดีแห่งนี้จัดเป็นแหล่งโบราณคดียุคหินใหม่ ที่
เก่าแก่ที่สุดในจังหวัดสุพรรณบุรี

(ข้อมูลจากสำนักศิลปากรที่2 จังหวัดสุพรรณบุรี)
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

และ Link ที่น่าสน

แหล่งโบราณคดีหนองราชวัตร

ด้วยความสำคัญของแหล่งโบราณคดีดังกล่าว สำนักงานศิลปากรที่ 2 สุพรรณบุรี จึงได้จัดทำโครงการขุดศึกษาทางโบราณคดีที่แหล่งโบราณคดีหนองราชวัตร เสนอกรมศิลปากร และได้รับอนุมัติเงินกองทุนโบราณคดีเพื่อมาดำเนินงานในช่วงระหว่างเดือนกันยายน 2546-มกราคม 2547



สอบถามข้อมูล

สำนักศิลปากรที่2 จังหวัดสุพรรณบุรี โทร 035-545466
อบต.หนองราชวัตร 

โทร
035-481016


สถานที่ท่องเที่ยว
อำเภอหนองหญ้าไซ
แหล่งโบราณคดีหนองราชวัตร
วัดหนองหลวง

วัดบัลลังก์


 

 


Last modified: 14/05/15
Copy  Right © 2545

จังหวัดสุพรรณบุรี | สถานที่ท่องเที่ยว | ที่พัก-รีสอร์ท | ร้านอาหาร แผนที่ | การเดินทาง | Other | Suphan Gallery