แห่เทียนพรรษา

วันอาสาฬหบูชา
(วันขึ้น 15 ค่ำเดือน 8)
ตรงกับวันพุธที่ 13 กรกฎาคม 2565
คือวันที่พระพุทธเจ้าได้ทรงประกาศพระพุทธศาสนาเป็นครั้งแรก
หลังจากตรัสรู้โดยแสดงปฐมเทศนาโปรดพระปัญจวัคคีย์ทั้ง
5 เรียกว่า "ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร" ไห้แก่
พระโกณฑัญญะ พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานามะ
และพระอัสสชิ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี
แคว้นมคธ จนพระอัญญาโกณฑัญญะ
ได้บรรลุธรรมและขอบวชเป็นพระภิกษุรูปแรกในพระพุทธศาสนา
จึงถือว่าวันนี้มีพระรัตนตรัยครบองค์สามบริบูรณ์ครั้งแรกในโลก
คือ มีทั้งพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์
ซึ่งเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นก่อนพุทธศักราช 45 ปี
พิธีกรรมที่กระทำในวันนี้ โดยทั่วไป คือ ทำบุญ
ตักบาตร รักษาศีล เวียนเทียน ฟังพระธรรมเทศนา
(ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร) และสวดมนต์
ดังนั้นในวันนี้จึงถือว่า
พุทธศาสนิกชนควรได้รับประโยชน์ที่เป็นสาระสำคัญจากอาสาฬหบูชา
กล่าวคือ ควรทบทวนระลึกเตือนใจสำรวจตนว่า
ชีวิตเราได้เจริญงอกงามขึ้นด้วยความเป็นอยู่อย่างผู้รู้เท่าทันโลกและชีวิตนี้บ้างแล้วเพียงใด
เรายังดำเนินชีวิตอยู่อย่างลุ่มหลงมัวเมา
หรือมีจิตใจอิสระปลอดโปร่งผ่องใสบ้างแล้วเพียงใด

วันเข้าพรรษา
(แรม 1 ค่ำเดือน 8)
ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ 14 กรกฎาคม 2565
เป็นวันเริ่มต้นที่พระภิกษุสงฆ์จะต้องอธิษฐานจำพรรษาอยู่กับที่
ไม่เที่ยวจาริกไปยังที่ต่าง ๆ เป็นเวลา 3 เดือน
นับตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำเดือน 8 ถึงวันขึ้น 15
ค่ำเดือน 11 ของทุกปี "เข้าพรรษา" แปลว่า "พักฝน"
หมายถึง พระภิกษุสงฆ์ต้องอยู่ประจำ ณ
วัดใดวัดหนึ่งระหว่างฤดูฝน
ซึ่งการให้จำพรรษาในสมัยพุทธกาล
ก็เพื่อป้องกันมิให้พระสงฆ์ไปเหยียบย่ำข้าว
และพืชผลของชาวบ้านเสียหาย
ต่อมาถือเป็นโอกาสดีที่พระภิกษุจะได้มาอยู่ร่วมกันเพื่อศึกษาธรรมะ
ส่วนชาวบ้านก็ได้เข้าวัดถวายทาน รักษาศีล ฟังธรรม
และเจริญภาวนาเพื่อเพิ่มพูนบุญกุศลโดยมีพระภิกษุเป็นแบบอย่าง
และจะมีประเพณีที่เกี่ยวข้อง คือ
การตักบาตรเทโวโรหนะ ในวันถัดจากวันออกพรรษา 1 วัน










ค่าพิกัด
GPS
14.481633, 100.122305

รวมภาพงานประเพณีแห่เทียนพรรษาจังหวัดสุพรรณบุรี
ประจำปี 2560
Photo By:
Nikon Aod Thailand
รวมภาพงานประเพณีแห่เทียนพรรษาจังหวัดสุพรรณบุรี
ประจำปี 2558
Photo By:
Nikon Aod Thailand

ประวัติประเพณีแห่เทียนพรรษา
เหตุที่ต้องมีประเพณีหล่อเทียน คือ
เมื่อถึงฤดูเข้าพรรษา แรม 1 ค่ำ เดือน 8 ถึง
วันขึ้น 15 ค่ำเดือน 11 บรรดาภิกษุ
สามเณรต้องจำพรรษาในวัดหรือสถานที่
ที่กำหนดตลอดระยะเวลา 3 เดือน
มิให้ไปค้างแรมที่อื่นๆ
ระหว่างการจำพรรษาของพระภิกษุ สามเณร
จะมีการสวดมนต์ทำวัตร เช้า-เย็น
จึงจำเป็นที่จะต้องใช้เทียนจุดเพื่อบูชาให้ตลอดพรรษา
พุทธศาสนิกชนจึงร่วมมือร่วมใจกันหล่อเทียนพรรษา
เทียนที่หล่อขึ้นจึงเรียกว่า เทียนพรรษา
การถวายเทียนพรรษาเป็นกุศลอย่างหนึ่งของการให้แสงสว่าง
พิธีหล่อเทียนเริ่มก่อนเข้าพรรษา ประมาณ 1 สัปดาห์
เมื่อหล่อเทียนเสร็จ
วันรุ่งขึ้นจะนำเทียนพรรษาที่หล่อได้
จัดขบวนแห่นำไปถวายที่วัด เพื่อเป็นพุทธบูชา
ในวันนั้นจะมีการทำบุญตักบาตรถวายแด่พระภิกษุ
เพื่อเป็นการร่วมกุศลกันในหมู่บ้าน
อานิสงส์ของการหล่อเทียนหรือถวายเทียนพรรษาแด่พระภิกษุ
ถือกันว่าจะทำให้เป็นผู้มีปัญญาดีเจริญก้าวหน้า
เหมือนดังแสงเทียนที่สว่างยามค่ำคืน
ซึ่งพระภิกษุสมัยก่อนใช้เป็นแสงสว่างในการอ่านหนังสือธรรมะและประกอบกิจของสงฆ์
ในสมัยโบราณ
การหล่อเทียนแต่ละเล่มจะต้องหล่อด้วยขี้ผึ้ง
ต้องใช้ขี้ผึ้งในการหล่อเทียนหนักถึง 16 ชั่ง
เมื่อถึงเวลาหล่อเทียน
สำนักพระราชวังจะบอกบุญไปยังพระบรมวงศานุวงศ์
ข้าราชการทั้งฝ่ายหน้า ฝ่ายใน และ ขุนนางฝ่ายต่างๆ
ให้นำขี้ผึ้งมาช่วยกันหล่อเทียนจึงสำเร็จลงได้จำนวนเทียนที่หล่อจึงมีมากขึ้น
|